เอื้องคำหิน / -

ประวัติการค้นพบ: ค้นพบโดย Carl Ludwig Willdenow (1765 –1812) นักพฤกษศาสตร์ นักเภสัชศาสตร์ และนักอนุกรมวิธานพืชชาวเยอรมัน ตีพิมพ์ใน Species plantarum ในปี ค.ศ.1805 และมีการเปลี่ยนสกุลอีกครั้ง จนต่อมาสุดท้าย ) Xin-qi Chen (1931 - ปัจจุบัน) นักพฤกษศาสตร์ชาวจีน ร่วมกับ Jeffrey James Wood (1952 - ปัจจุบัน) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้ย้ายสกุลของกล้วยไม้นี้ให้มาอยู่ในสกุล Dendrolirium ตีพิมพ์ใน Flora of China ในปี ค.ศ. 2009 ที่มาชื่อไทย: - ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: กล้วยไม้อิงอาศัย หรือเป็นกล้วยไม้ขึ้นบนหิน (epiphyte or lithophyte) ลักษณะมีเหง้าเลื้อย เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 มิลลิเมตร ลำลูกกล้วยค่อนข้างกลมหรือทรงกระสวย เส้นผ่านศูนย์กลาง 6 - 8 เซนติเมตร ลำลูกกล้วยขึ้นห่างกันบนเหง้าระยะห่าง 1.5 - 5 เซนติเมตร ลำลูกกล้วยขนาดยาว 3 - 7.5 เซนติเมตร กว้าง 1.5 - 3.5 เซนติเมตร มีกาบใบหุ้ม ที่ปลายลำลูกกล้วยมีใบ 3 - 5 ใบ ใบ รูปขอบขนานแกมรี หรือรูปใบหอก ยาว 12 - 30 เซนติเมตร กว้าง 1.5 - 5 เซนติเมตร มีเส้นใบหลัก 8 - 14 เส้น ปลายใบเรียวแหลม ดอกเป็นดอกช่อ ช่อดอกออกจากโคนกอ โดยช่อดอกที่ 1 หรือ 2 เกิดจากโคนใกล้ที่อยู่ใกล้ลำลูกกล้วยเก่า ช่อดอกยาว 10 - 30 เซนติเมตร แกนกลางช่อดอกมีขนสีขาวหรือสีเหลืองแกมเทาอยู่อย่างหนาแน่น ใบประดับรูปไข่แกมรูปใบหอก ขนาด 1 เซนติเมตร มีขนสีขาวหรือสีเหลืองแกมเทาปกคลุมอยู่ ก้านดอกย่อยและรังไข่ ขนาด 2 - 3 เซนติเมตร มีขนปกคลุมหนาแน่นเช่นกัน ดอกบานเต็มที่กว้าง 2.5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงและกลีบดอก สีเขียวอ่อน ส่วนปลายกลีบมีขนนุ่มสีขาวหรือเหลืองอมเทา ปกคลุม กลีบเลี้ยงบน รูปใบหอก ขนาดยาว 12 มิลลิเมตร กว้าง 2 มิลลิเมตร ปลายกลีบป้าน กลีบเลี้ยงข้าง รูปใบหอกเอียงเล็กน้อย ขนาดยาว 13 มิลลิเมตร กว้าง 5 มิลลิเมตร กลีบดอกรูปแถบ ขนาดยาว 14 มิลลิเมตร กว้าง 1 มิลลิเมตร ปลายกลีบแหลม กลีบปากคล้ายรูปไข่ ขนาดยาว 11 มิลลิเมตร กว้าง 5 มิลลิเมตร มีลายปื้นสีน้ำตาลอมแดง บริเวณโคนกลีบปากหดตัวคล้ายก้ามปู 3 แฉก ขอบแต่ละแฉกเป็นคลื่น แฉกด้านข้างกึ่งรูปไข่ แฉกกลางกึ่งรูปขอบขนาน มีพื้นที่เป็นหนารูปไข่หรือรูปใบหอกขยายจากฐานถึงกลางกลีบ เส้าเกสร สีเหลือง หนา 4 มิลลิเมตร ฐานเส้าเกสร ขนาดประมาณ 4 มิลลิเมตร ปลายเป็นรูปลูกศร ฝัก รูปทรงกระบอกขนาดยาว 2.5 - 4 เซนติเมตร กว้าง 4 มิลลิเมตร มีขนสีขาวเมื่อฝักยังอ่อน นิเวศวิทยา: พบตามป่าดิบแล้งและลานหินขึ้นในที่ร่มในป่า บนต้นไม้ริมลำธารหรือขึ้นบนหิน ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,200-1,700 เมตร ออกดอกช่วงเดือน สิงหาคม-ตุลาคม การกระจายพันธุ์: จีน ฮ่องกง ภูฏาน เนปาล อินเดีย ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ เวียดนาม และไทย ในไทยพบทางภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ข้อมูลชีววิทยาอื่นๆ: - สถานภาพทางการอนุรักษ์: - เอกสารอ้างอิง: -


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Dendrolirium lasiopetalum (Willd.) S.C.Chen & J.J.Wood

ชื่อท้องถิ่น = -

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง